วิธีดูแลรักษาเครื่องพันฟิล์มยืดให้ใช้ได้นาน
วิธีดูแลรักษาเครื่องพันฟิล์มยืดให้ใช้ได้นาน
7 เทคนิคในการดูแลรักษาเครื่องพันฟิล์มยืดให้สามารถยืดอายุการใช้งานได้
ในปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมมากมายนิยมใช้เครื่องพันฟิล์มยืดมากขึ้นเนื่องจากช่วยในการรักษาคุณภาพของสินค้าได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีประโยชน์ในด้านต่างๆมากมายทำให้เครื่องพันฟิล์มยืดได้รับความความนิยมอย่างมาก และ สามารถทำงานได้รวดเร็วกว่าการใช้แรงงานคนมาก ช่วยทำให้สินค้าเป็นระเบียบเรียบร้อย ลดการกระแทกขณะเคลื่อนย้าย การรวมสินค้าเข้าด้วยกันเพื่อความสะดวกในการขนส่ง และ เพื่อป้องกันฝุ่นระหว่างที่ขนส่งดังนั้นวันนี้เราจะมาบอกเทคนิคที่จะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องพันฟิล์มยืดกันว่าจะมีวิธีการดูแลอย่างไรบ้างให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
7 เทคนิคในการดูแลรักษาเครื่องพันฟิล์มยืดให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
- ไม่ควรใช้เครื่องพันฟิล์มยืดแพ๊คสินค้ามากเกินไป
เราอาจจะเห็นหลายๆโรงงานอุตสาหกรรมใช้เครื่องพันฟิล์มยืดอย่างหนักหน่วง และ แพ็คสินค้าในปริมาณที่เกินพอดี เพราะหวังว่าจะได้ประหยัดเวลาในการทำงาน ซึ่งสินค้าอาจจะมีขนาดใหญ่เกินไป มีน้ำหนักมากเกินไป เป็นข้อเสียที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของมอเตอร์เพราะแต่ละรุ่นของเครื่องพันฟิล์มยืด จะมีขนาด และ ปริมาณของการแพ็คสินค้าระบุเอาไว้แล้ว หากเราใส่เกินก็อาจทำให้เครื่องพังเร็วกว่ากำหนดได้ - ใช้ฟิล์มยืดในการพันสินค้าน้อยเกินไป
บางธุรกิจอาจจะเน้นประหยัดฟิล์มยืดเพราะคิดว่าพันในปริมาณน้อยๆก็เพียงพอแล้วซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะการพันฟิล์มที่บางเกินไปอาจะทำให้การขนส่งลำบาก เกิดความเสียหายได้ง่าย และ ยังส่งผลกระทบต่อมอเตอร์ เนื่องจากต้องทำงานหนักเป็นระยะเวลาสั้น ๆ นั้นเอง - บำรุงรักษาเครื่องพันฟิล์มยืดทุก ๆ เดือน
เครื่องพันฟิล์มยืดมีความจำเป็นที่ต้องตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆในทุกๆเดือนเนื่องจากหากคุณตรวจสอบเป็นประจำจะพบว่าตอนนี้เครื่องเป็นอย่างไรบ้าง ต้องซ่อม หรือ ต้องดูแลส่วนไหนเป็นพิเศษ โดยพวกเครื่องพันฟิล์มยืดจะมีช่างประจำที่คอยดูแล ดังนั้นการหมั่นเช็คระบบการทำงานเดือนละครั้ง ถือเป็นการยืดอายุการใช้งานที่ดีมาก - ทำความสะอาดเครื่องพันฟิล์มยืดทุกวัน
การใช้งานเครื่องพันฟิล์มยืดโดยทั่วๆไปแล้วอาจมีฝุ่น หรือ เศษฟิล์ม จากการทำงานเข้าไปติดตามสายพาน หรือ มุมต่างๆได้ง่ายจึงควรทำความสะอาดทุกครั้งหลังการใช้งานในทุกๆวัน - ไม่ใช้กับสินค้าที่มีน้ำหนักมากเกินไป
เครื่องพันฟิล์มยืดโดยปกตินั้นจะมีน้ำหนักกำหนดว่ารับน้ำหนักในการพันฟิล์มยืดได้เท่าไหร่เนื่องในเครื่องแต่ละรุ่นมีขีดจำกัดที่ต่างกันขึ้นอยู่กับว่างานมีปริมาณมากแค่ไหน เช่น หากเป็นสินค้าทั่วไป ก็จะสามารถรับน้ำหนักได้อย่างน้อย 2 ตัน หากใส่สินค้าที่มีน้ำหนักมากเกินไป จะส่งผลต่อระบบการทำงาน มอเตอร์ และ แกนหมุนของเครื่องอาจจะพังเร็วขึ้นก่อนกำหนดก็เป็นได้ - ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องก่อนใช้งานทุกครั้ง
ก่อนการใช้งานเครื่องพันฟิล์มยืดทุกครั้งควรตรวจสอบอุปกรณ์สำคัญของเครื่องก่อนนั้นคือ มอเตอร์ และ แกนหมุน ดังนั้นการหมั่นตรวจเช็คความพร้อมของมอเตอร์ คุณก็จะรู้ว่าเครื่องถูกใช้งานมาหนักแค่ไหน ต้องพักเพื่อซ่อมบำรุง หรือ เปล่า ส่วนแกนหมุนอาจจะต้องหยอดน้ำมันเพิ่มเพื่อให้ทำงานได้ดีขึ้นจะเป็นตัวช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องได้เป็นอย่างดี - จัดเก็บเครื่องพันฟิล์มยืดให้ห่างจากความชื้น
โดนทั่วไปแล้วเครื่องพันฟิล์มยืดนั้นเป็นอุปกรณ์ที่ผลิตจากโลหะดังนั้นไม่ว่าจะขั้นตอนของการใช้งาน ตลอดจนการเก็บรักษา ก็ควรให้เครื่องอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีความเปียกชื้น เพราะเครื่องอาจถูกสนิมกัดกินได้ และ นั่นจะสร้างผลกระทบต่อกลไกการทำงานของเครื่องให้ไม่เสถียรตามไปด้วยนั่นเอง
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่าเครื่องพันฟิล์มยืดจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานอยู่แล้วโดยเฉลี่ยนประมาณ 5-7 ปี หากใช้งานอย่างถูกวิธีก็จะสามารถใช้งานเครื่องพันฟิลม์ยืดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และ ยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น หากสนสใจในตัวเครื่องพันฟิล์มยืดที่มีคุณภาพ สามารถใช้งานได้ตรงมาตราฐานแล้วนั้นเราขอแนะนำ Cyklop Packaging Thailand Co. Ltd. เป็นผู้ผลิต และ จัดจำหน่ายระบบ และ วัสดุบรรจุภัณฑ์ทั่วโลก ที่ได้มาตราฐาน อาทิ เครื่องพันพาเลท เครื่องพันฟิล์มยืด สายรัดพลาสติกPET เครื่องพิมพ์วันที่แบบมือถือ เลเซอร์มาร์คกิ้ง เครื่องพิมพ์คุณภาพสูง เสริมด้วยผลิตภัณฑ์ และ ด้วยความเชี่ยวชาญของเรา เราสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้สนใจได้อย่างครบถ้วนอีกทั้งยังมีบริการหลังการขายที่ดีไว้ใจได้มีความรับผิดชอบ ลูกค้าหลายๆท่านจึงไว้ใจในการบริการ และ สินค้าของเราได้เป็นอย่างดีนั้นเอง
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทรศัพท์: +66 (0) 2 7300213-6
แฟกซ์: +66 (0) 2 7300217
E-Mail: tanit.t@cyklop-asia.com
E-Mail : cyklopservice@hotmail.com
เราจะช่วยได้อย่างไร?
คุณสามารถติดต่อเราได้ตั้งแต่ 8.00-17.00 น. ในวันธรรมดา หากนอกเวลาทำการคุณสามารถใช้แบบฟอร์มการติดต่อได้